วันครูแห่งชาติ
คำว่า “ครู” มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต “คุรุ” และภาษาบาลี “ครุ, คุรุ” คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำอบรมสั่งและสอน ศิษย์ นักเรียน หรือ นักศึกษา ให้เกิดความรู้ คิด อ่าน เขียน เพื่อให้เกิดประโยชน์มีอาชีพที่ดี รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
ประวัติวันครู
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ซึ่งได้สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู เพื่อส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ในปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า”ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก และเพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงาน “วันครู” ได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติ เป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนด เป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ
คำปฏิญาณ
ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรีมอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอกและในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม
16 มกราวันนี้วันครู ท่านเป็นผู้ให้ความรู้ตลอดมา
ครูมีแต่ความหวังดีทุกเวลา ห่วงว่าศิษย์หลงทำผิดคิดพลาดไป
คอยอบรมสอนสั่งไม่ย่อท้อ ครูยังพอยิ้มได้และสุขใจ
เมื่อศิษย์ไปได้ดีดั่งหวังไว้ เหน็ดเหนื่อยเพียงไหนใจพร้อมสู้
ครูยืนอยู่เบื้องหลังเป็นกำลังใจ ความผิดใดที่ศิษย์ได้ทำไว้
โปรดขอครูนี้จงได้ให้อภัย ไม่ตั้งใจจริงๆสิ่งที่ทำไป
—————————————————-
ประนตน้อมพร้อมจิตลิขิตสาร ดำริกานท์ก้มเกศพิเศษหมาย
นบบูชาพระคุณครูมิรู้วาย ทั้งจิตกายตั้งมั่นกตัญญู
นบบูชาพระคุณครูมิรู้วาย ทั้งจิตกายตั้งมั่นกตัญญู
พระคุณที่สั่งสอนทั้งศาสตร์ศิลป์ ให้ศิษย์สิ้นสงสัยให้ความรู้
เกิดปัญญาก้าวหน้าเพราะคำครู ยังก้องอยู่โสตประสาทมิขาดไป
เกิดปัญญาก้าวหน้าเพราะคำครู ยังก้องอยู่โสตประสาทมิขาดไป
ตั้งแต่เรียนเขียน ก ทั้งนับเลข นิทานเสกสอนสั่งสร้างนิสัย
ขัดเกลาจิตศิษย์อยู่ให้รู้วัย ว่าสิ่งไหนนั้นควรไม่ควรทำ
ขัดเกลาจิตศิษย์อยู่ให้รู้วัย ว่าสิ่งไหนนั้นควรไม่ควรทำ
ในวาระวันครู หนูจะเขียน ต่างแพเทียนธูปทองอันผ่องล้ำ
สร้อยอักษรล้วนจิตพินิจจำ กระแสน้ำพระคุณครูอยู่ชั่วกาล
สร้อยอักษรล้วนจิตพินิจจำ กระแสน้ำพระคุณครูอยู่ชั่วกาล
การจัดงานวันครูอันที่จริงมีมานานแล้ว ตั้งแต่ 16 มกราคม 2500 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2499 แต่เริ่มจัดให้มีคำขวัญเกี่ยวกับงานวันครูเมื่อไม่นานมานี้เอง แรกๆก็เป็นคำขวัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา) ต่อมาก็เป็นคำขวัญของบุคคลทั่วไปที่ส่งเข้าประกวด ซึ่งพอจะรวบรวมได้ดังนี้
พ.ศ. 2522 – การให้การศึกษาแก่คนในชาติ เป็นกระบวนการที่ต้องทำต่อเนื่องกันไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องระดมสรรพกำลังหลาย ๆ ด้านมาช่วยเหลือการศึกษา ปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ ครูซึ่งจะเป็นผู้ผลักดันให้ทุกอย่างไปสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นท่านทั้งหลายคงตระหนักถึงหน้าที่อันมีเกียรตินี้ ในโอกาสที่วันสำคัญอย่างยิ่งของครูได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง ข้าพเจ้าในนามของกระทรวงศึกษาธิการและประธานอำนวยการคุรุสภา ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงเพื่อนครูทุกท่าน ทั้งนอกและในราชการขอจงประสบแต่ความสุขความเจริญโดยทั่วกันและขอได้โปรด ตระหนักถึงหน้าที่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของครูที่ดีสืบไป
โดย นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
โดย นายแพทย์บุญสม มาร์ติน
พ.ศ. 2523 – เป็นครูต้องยึดถือคุณธรรมของครู
โดย ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
โดย ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
พ.ศ. 2524 – ครูที่แท้ต้องทำแต่ความดี ประพฤติปฏิบัติในระเบียบแบบแผนอันสมควรกับเกียรติภูมิของตน มีความรักในลูกศิษย์ และอบรมปัญญาให้ลูกศิษย์มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้าน วิชาการ ความฉลาดรอบรู้ในเหตุและผล ทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และทางด้านพลานามัย
โดย ดร.สิปปนนท์ เกตุทัตฃ
โดย ดร.สิปปนนท์ เกตุทัตฃ
พ.ศ. 2525 – ครูนั้น สังคมยกย่องนับถือว่าเป็นปูชนียบุคคล ทั้งนี้เพราะว่าครูเป็นผู้เสียสละ ยึดมั่นในคุณงามความดี และความถูกต้อง จึงขอให้รักษาความดีนี้ตลอดไป
โดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
โดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
พ.ศ. 2526 – อนาคตของเด็กไทย อยู่ที่ความเอาใจใส่ของครูทุกคน
โดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
โดย ดร.เกษม ศิริสัมพันธ์
พ.ศ. 2527 – ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2527 ผมขอให้เพื่อนครูที่รักทั้งหลายและสมาชิกคุรุสภาทุกท่าน ประสบความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล สัมฤทธิ์ผลอันพึงปรารถนาตลอด
โดย นายชวน หลีกภัย
โดย นายชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2528 – การที่บุคคลหนึ่งจะดำรงชีวิตได้อย่างดีนั้นมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะผู้เป็นครูมีแนวปฏิบัติที่ยากยิ่ง เป็นสิ่งน่าเห็นใจที่ครูจะต้องปฏิบัติ โดยยึดถือความดีมีคุณธรรมระดับสูงกว่า บุคคลทั่วไป แต่ก็น่าภาคภูมิใจเมื่อครูผู้ปฏิบัตินั้น ได้รับความเชื่อถือ ศรัทธา และยอมรับจากสังคมมากขึ้น จึงขอให้เพื่อนครู ทุกท่านปฏิบัติตนด้วยความเสียสละ อดทน ยึดถือความดี มีคุณธรรมเพื่อจะบังเกิด ผลดีแก่ตนเอง ชุมชน และประเทศชาติสืบไป
โดย ชวน หลีกภัย
โดย ชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2529 – ครู คือ ผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าต่อการพัฒนาชาติให้ก้าวหน้า และอยู่รอดปลอดภัย
โดย นายชวน หลีกภัย
โดย นายชวน หลีกภัย
พ.ศ. 2530 – ครูดีมีวินัย และคุณธรรม ย่อมน้อมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดี
โดย นายมารุต บุญนาค
โดย นายมารุต บุญนาค
พ.ศ. 2531 – ครูเป็นผู้สร้าง ครูเป็นผู้ให้ความหวัง ครูเป็นพลังให้ศิษย์เป็นคนดี
โดย นายมารุต บุญนาค
โดย นายมารุต บุญนาค
พ.ศ. 2532 – ครูดี มีจรรยา มุ่งค้นคว้าเพื่อพัฒนาเด็กไทย
โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
พ.ศ. 2533 – ครูคือผู้อุทิศทั้งชีวิตและจิตใจ ส่งเสริมเพิ่มพูนให้เยาวชนเป็นคนดี
โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
พ.ศ. 2534 – ครูคือผู้สร้างสรรค์ให้เยาวชนของชาติเป็นพลเมืองดี
โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
โดย พลเอกมานะ รัตนโกเศศ
พ.ศ. 2535 – ครูคือ ผู้ให้ ผู้สร้าง ผู้พัฒนา และผู้นำเยาวชนของชาติ
โดย ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
โดย ดร.ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
พ.ศ. 2536 – ครูคือนักพัฒนา และรักษาสิ่งแวดล้อม
โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
พ.ศ. 2537 – ครูคือ ผู้มีคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
พ.ศ. 2538 – อุทิศเวลา รักษาคุณธรรม ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
โดย นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
พ.ศ. 2539 – ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาคน
โดย นายสุขวิช รังสิตพล
โดย นายสุขวิช รังสิตพล
พ.ศ. 2540 – ครูสร้างศิษย์ ด้วยมิตรและนำใจ ครูคือผู้ให้ เพื่อเยาวชนไทยได้พัฒนา
โดย นายสุขวิช รังสิตพล
โดย นายสุขวิช รังสิตพล
พ.ศ. 2541 – ครูเป็นผู้นำทางปัญญา ชี้นำประชาธิปไตย สร้างเด็กไทยให้เป็นคนดี
โดย นายชุมพล ศิลปอาชา
โดย นายชุมพล ศิลปอาชา
พ.ศ. 2542 – ครูเป็นผู้เบิกทางแห่งปัญญา เจ้าของคำขวัญ นายปัญจะ เกสรทอง ครูชี้ทางสร้างสรรค์ภูมิปัญญา ชนเชิดบูชาพระคุณครู
โดย นางเซียมเกียว แซ่เล้า
โดย นางเซียมเกียว แซ่เล้า
พ.ศ. 2543 – ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เจ้าของคำขวัญ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล สร้างชาติ สร้างคน ผลงานของครู ทั่วโลกรับรู้ เชิดชูบูชา
โดย นายประจักษ์ เสตเตมิ
โดย นายประจักษ์ เสตเตมิ
พ.ศ. 2544 – พระคุณครูยิ่งใหญ่ สร้างไทยให้พัฒนา ขอบูชาคุณครู
โดย นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์
โดย นางสาวสุทิสา ธนบดีไพบูลย์
พ.ศ. 2545 – สร้างคนสร้างชาติ สร้างศาสตร์ก้าวหน้า สร้างภูมิปัญญา ขอบูชาครู
โดย นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี
โดย นายสุเทพ วิเศษศักดิ์ศรี
พ.ศ. 2546 – ครูให้ความรู้ ควบคู่จรรยา ปวงชนทั่วหล้า น้อมบูชาครู
โดย นางสมปอง สายจันทร์
โดย นางสมปอง สายจันทร์
พ.ศ. 2547 – ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู
โดย นางสาวพรทิพย์ ศุภกา
โดย นางสาวพรทิพย์ ศุภกา
พ.ศ. 2548 – ครูสร้างคนสร้างชาติด้วยศาสตร์ศิลป์ ทั่วแผ่นศรัทธาบุชาครู
โดย นายประจักษ์ หัวใจเพชร
โดย นายประจักษ์ หัวใจเพชร
พ.ศ. 2549 – ครูดีเป็นศรัแผ่นดิน ศิษย์ทั่วถิ่นศรัทธาบูชาครู
โดย นางพรรณา คงสง
โดย นางพรรณา คงสง
พ.ศ. 2550 – สิบหกมกรา เทิดทูน พ่อแผ่นดิน ภูมินทร์บรมครู ปี
โดย นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์
โดย นางสาวศันสนีย์ แสนโรจน์
พ.ศ. 2551 – ครูของแผ่นดินเลิศศิลป์ศาสตร์ มหาราชภูมิพลฯ ชนบูชา
โดย นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม
โดย นางพงษ์จันทร์ สุขเกษม
พ.ศ. 2552 – ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครูของ
โดย นางนฤมล จันทะรัตน์ จากจังหวัดกาฬสินธุ์
โดย นางนฤมล จันทะรัตน์ จากจังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2553 – น้อมจิตวันทา บูชาคุณครู กตัญญูกตเวที
โดย นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ จังหวัดลำพูน
โดย นายกันทา วงศ์จันทร์ทิพย์ จังหวัดลำพูน
พ.ศ. 2554 – เทิดพระเกียรติทั่วหล้า บูชาครูของแผ่นดิน ภูมินทร์ภูมิพล
ข้อมูลประเทศที่มีวันครู
ประเทศที่มีวันครูที่ไม่ใช่วันหยุด
- อินเดีย วันครู ตรงกับวันที่ 5 กันยายน
- มาเลเซีย วันครู ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
- ตุรกี วันครู ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน
- มาเลเซีย วันครู ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
- ตุรกี วันครู ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน
ประเทศที่มีวันครูเป็นวันหยุด
- แอลเบเนีย วันครู ตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
- จีน วันครู ตรงกับวันที่ 10 กันยายน
- สาธารณรัฐเช็ก วันครู ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- อิหร่าน วันครู ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
- ละตินอเมริกา วันครู ตรงกับวันที่ 11 กันยายน
- โปแลนด์ วันครู ตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
- รัสเซีย วันครู ตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
- สิงคโปร์ วันครู ตรงกับวันที่ 1 กันยายน
- สโลวีเนีย วันครู ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- เกาหลีใต้ วันครู ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
- ไต้หวัน วันครู ตรงกับวันที่ 28 กันยายน
- ไทย วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม
- สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
- เวียดนาม วันครู ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน
- จีน วันครู ตรงกับวันที่ 10 กันยายน
- สาธารณรัฐเช็ก วันครู ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- อิหร่าน วันครู ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
- ละตินอเมริกา วันครู ตรงกับวันที่ 11 กันยายน
- โปแลนด์ วันครู ตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
- รัสเซีย วันครู ตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
- สิงคโปร์ วันครู ตรงกับวันที่ 1 กันยายน
- สโลวีเนีย วันครู ตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- เกาหลีใต้ วันครู ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
- ไต้หวัน วันครู ตรงกับวันที่ 28 กันยายน
- ไทย วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม
- สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
- เวียดนาม วันครู ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
คุณความคิดเห็นเป็นอย่างไร ?